ทฤษฎีก้างปลา


ทฤษฎีผังก้างปลา
ผังก้างปลา เป็นเครื่องมือทางการบริหารรูปแบบหนึ่ง ช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอันก่อให้เกิดผล โดยปกติจะใช้เป็นเครื่องมือในการประชุมระดมความคิดจากระดับหัวหน้างานและคนงาน
แผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างปัญหากับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้นๆ
เมื่อไรจึงจะใช้แผนผังก้างปลา
1. เมื่อต้องการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา
2. เมื่อต้องการทำการศึกษา ทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่พนักงานจะรู้ปัญหาเฉพาะในพื้นที่ของตนเท่านั้น แต่เมื่อมีการ ทำผังก้างปลาแล้ว จะทำให้เราสามารถรู้กระบวนการของแผนกอื่นได้ง่ายขึ้น
3. เมื่อต้องการให้เป็นแนวทางใน การระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆ คนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา

ขั้นตอนการสร้างแผนผังก้างปลา
1. ชี้บ่งปัญหาหรือผลกระทบที่กำลังประสบอยู่อย่างชัดเจน (กำหนดประโยคปัญหาที่หัวปลา)
2. วางเป้าหมายที่องค์กรต้องการ โดยจะอยู่ในรูปที่สามารถวัดผลได้และอยู่ในขอบเขตเวลาที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีจุดมุ่งหมายสู่ความสำเร็จ
3. จัดทำโครงสร้างของผังเบื้องต้น ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และคิดอย่างเป็นระบบ โดยอาจกำหนดกลุ่มปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหานั้นๆ ส่วนมากมักจะใช้หลักการ 4M 1E เป็นกลุ่มปัจจัย (Factors) เพื่อนำไปสู่การแยกแยะสาเหตุต่างๆ ซึ่ง 4M 1E นี้มาจาก
M - Man คนงาน พนักงาน หรือบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอก
M - Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
M - Material ผลิตภัณฑ์ บริการ วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ
M - Method กระบวนการทำงาน
E - Environment อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการทำงาน
หลังจากนั้นทำการระดมสมองเพื่อหาสาเหตุในแต่ละปัจจัย

หาสาเหตุที่แท้จริงในแต่ละกิ่ง จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ
โดยสามารถที่จะแตกตัวออกไปได้เรื่อยๆ จนถึงจุดซึ่งเป็นมูลเหตุ
อันแท้จริงของปัญหานั้น เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงต่อไป
โดยทั่วไปแล้วหัวข้อปัญหาควรกำหนดเป็นลบ ต้องชัดเจนมีความเป็นไปได้
 


การเตรียมผังก้างปลา
แทนที่หัวปลาด้วยปัญหา
แต่ละก้างคือต้นตอสาเหตุที่แตกออกไป
แยกหมวดหมู่ตามแต่ละก้าง
ซึ่งสาเหตุของปัญหาจะเขียนไว้ในก้างปลาแต่ละก้าง
ก้างย่อยเป็นสาเหตุของก้างรองและก้างรองเป็นสาเหตุของก้างหลัก
การแบ่งแยกมูลเหตุของปัญหาไปตามแต่ละก้าง
จะทำให้สามารถร่วมกันวิเคราะห์จนเห็นถึงจุดที่ก่อให้เกิดปัญหา
ทำให้สามารถเรียงลำดับความสำคัญของสาเหตุ
มองเห็นภาพขององค์ประกอบทั้งหมดที่จะเป็นสาเหตุของปัญหา
ข้อแนะนำในการเขียน แผนภูมิก้างปลา
1. ปัญหาหรือผล ( หัวปลา ) จะต้องเป็นปัญหาที่ชัดเจนและจำเพาะเจาะจง
2. สาเหตุใหญ่ ( ก้างปลา ) แต่ละสาเหตุจะต้องไม่ขึ้นแก่กัน คือแยกจากกันอย่างชัดเจน เช่น สาเหตุมาจากคน อุปกรณ์ที่ใช้ หรือจากวิธีการ
3. พยายามหาสาเหตุย่อย ( ก้างย่อย ) ให้มากๆ เพราะจะทำให้ได้สาเหตุมากมาย ทั้งที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ เลือกสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้เป็นรูปธรรมมาปรับปรุง ส่วนที่แก้ไขไม่ได้นำไปเป็นข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
4. สาเหตุย่อย หาได้โดยใช้คำถาม ทำไมๆ ๆ ๆ
5. ต้องระวังเรื่อง เหตุ และ ผล โดยต้องพิจารณาให้แน่ว่า อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล เช่น ถนนลื่นเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ ไม่ใช่ฝนตก ( เพราะฝนตกถนนอาจไม่ลื่นก็ได้ 


อ้างอิง



http://www.oknation.net/blog/knowledge09/2009/09/24/entry-1